3 ปรับท่านั่งทำงาน แก้ปวดหลัง ออฟฟิศซินโดรม กับ โต๊ะทำงานปรับระดับ DreamDesk

3 ปรับท่านั่งทำงาน แก้ปวดหลัง ออฟฟิศซินโดรม กับ โต๊ะทำงานปรับระดับ DreamDesk

รู้ไหมนั่งทำงานนานๆ เป็นปัญหาที่คุณแก้ได้ด้วยการปรับท่านั่ง ที่ปรับได้ทันทีอย่างตรงจุดด้วยเก้าอี้ทำงาน และโต๊ะทำงาน ที่ออกแบบตามหลัก Ergonomic โดย DreamDesk

3 ปรับ แก้นั่งทำงานแล้วปวดหลัง

3 ปรับ แก้นั่งทำงานแล้วปวดหลัง

ทำไมคนเราถึงปวดหลัง เวลานั่งทำงาน?

เมื่อถึงวัยทำงาน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเราใช้เวลาบนเก้าอี้เพื่อนั่งทำงานต่างๆ หน้าจอคอมพิวเตอร์เยอะขึ้นมาก เรียกได้ว่านั่งทำงานแปบๆ รู้ตัวอีกทีหมดวันแล้ว

หลายคนทราบแล้วว่าการนั่งทำงานเฉยๆ เป็นระยะเวลานาน ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของเรา ที่สุดท้ายส่งผลออกมาเป็นอาการปวดหลัง หรือ ออฟฟิศซินโดรม

เพราะในขณะที่เรานั่ง ที่จริงแล้ว กล้ามเนื้อของเราไม่ได้หยุดพักเลย แต่คอยช่วยเกร็ง ยึดลำตัวให้เรานั่งขึ้นมาตามท่านั่งของเราโดยที่เราไม่รู้ตัว ทำให้บางท่านั่งทำให้กล้ามเนื้อทำงานหนักโดยที่เราไม่รู้ตัวเป็นระยะเวลานาน จนเกิดเป็นอาการปวดหลังในที่สุด

นอกจากท่านั่งที่ส่งผลแล้ว อุปกรณ์จัดโต๊ะคอมต่างๆ ยังส่งผลต่อท่านั่งอย่างมากอีกด้วย ตั้งแต่ เก้าอี้ โต๊ะ หน้าจอ คีย์บอร์ด ที่อาจทำกล้ามเนื้อของคุณทำงานหนักโดยไม่จำเป็น หรือช่วยเหลือการทำงานของกล้ามเนื้อคุณให้ถูกหลัก แบบที่คุณไม่รู้ตัว

 

Ergonomics ศาสตร์ในการทำความเข้าใจสรีระของคน

Ergonomics อาจเป็นคำที่คุณเคยได้ยินในฐานะคำโฆษณา เกี่ยวกับเก้าอี้ หรือโต๊ะ แต่ที่จริงแล้ว มันคือ ความเข้าใจในการทำงานของร่างกาย ในอริยาบถ ต่างๆ เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ตอบโจทย์กับการใช้งานในระยะเวลานาน โดยไม่ทำให้ร่างกายของคุณทำงานหนักจนเกินไป

 

  1. การนั่งแบบถูกหลัก Ergomomics

การนั่งที่ดีคือการนั่งหลังตรง เพราะช่วยลดภาระของกล้ามเนื้อที่คอยพยุงลำตัวของเรา

ให้นึกถึงเวลาที่เรายืนแล้วเอนลำตัวไปด้านหน้า เปรียบเทียบกับเวลาเรายืนลำตัวตรง การยืนตัวตรงจะทำให้กล้ามเนื้อรอบตัวทำงานน้อยกว่ามาก

การจัดท่านั่งตามหลัก Ergonomics เริ่มต้นตั้งแต่ลำคอตั้งตรงมองไปด้านหน้า หลังตรงตั้งฉากกับพื้นแขนวางระนาบไปกับที่วางแขนและอยู่ในระนาบเดียวกับโต๊ะ ก้นวางบนเก้าอี้เต็มๆ โดยให้ต้นขาขนานกับพื้น และปลายขาตั้งฉากกับพื้น โดยอาจใช้ที่รองขาหากขาไม่ถึงพื้น

ซึ่งเก้าอี้ที่เหมาะสมจะช่วยสนับสนุนการนั่งในท่าทาง และตำแหน่งที่ช่วยให้กล้ามเนื้อของเราทำงานได้เหมาะสม เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของตัวเรา ซึ่งการรองรับตำแหน่งสำคัญๆ ได้แก่ ช่วงต้นคอ ช่วงหลังส่วนล่างหรือ Lumbar (ลัมบาร์) เพื่อช่วยให้ลำตัวตั้งตรงได้อย่างธรรมชาติ

นอกจากนี้คุณภาพของเก้าอี้ ที่มีความมั่นคง ไม่โยกเยก และมีความนุ่มที่เหมาะสม เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยคุณนั่งทำงานได้อย่างมีความสุข และไม่ทำร้ายสุขภาพของคุณอย่างไม่รู้ตัว

 

  1. การจัดหน้าจอ

ตำแหน่งหน้าจอเป็นอีกส่วนสำคัญที่ช่วยส่งเสริมท่านั่งตามสรีระของเราในภาพรวม และโดยเฉพาะกับจุดสำคัญที่ต้นคอขอเรา

ตำแหน่งหน้าจอที่เหมาะสม จะต้องมีทั้งระยะห่างที่เหมาะสม และจะต้องทำให้ลำคอตั้งตรง โดยอาจใช้สิ่งของมาช่วยหนุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม หรือใช้อุปกรณ์อย่าง Monitor Arm หรือ แขนจับจอ ที่จะช่วยให้คุณปรับได้ทั้งระยะห่าง และความสูงให้เหมาะสมกับสรีระของคุณโดยเฉพาะ

โดยตำแหน่งที่เหมาะสมของหน้าจอควรอยู่ห่างจากผู้ใช้ 1 ช่วงแขน โดยให้เรานั่งในท่านั่งที่เราต้องการ และยื่นมือไปข้างหน้า และปรับความห่างให้อยู่ในระยะที่ปลายนิ้วแตะหน้าจอได้

ความสูงของหน้าจอวัดจากระดับสายตาเมื่อมองตรงไปด้านหน้าโดยตั้งลำคอตรงตั้งฉากกับพื้น ให้ขอบหน้าจอด้านบนอยู่เหนือระดับระดับสายตา ให้เราไม่ต้องก้มคอเมื่อมองด้านล่างสุดของหน้าจอ หรือเงยหน้าเมื่อต้องการมองด้านบนของจอ

 

  1. การนั่งสลับยืน

ในขณะที่นั่ง ร่างกายจะถูกบังคับให้อยู่ในตำแหน่งเดิมเป็นระยะเวลานาน ต่างกับเมื่อเรายืนขึ้น หรือมีการขยับตัว ที่จะทำให้กล้ามเนื้อหลายส่วนเข้ามาช่วยการจัดท่าของเราอัตโนมัติ ซึ่งช่วยลดภาระกล้ามเนื้อในส่วนที่จัดการท่านั่ง และสามารถช่วยลดความเครียดของกล้ามเนื้อส่วนนั้นได้อย่างเป็นธรรมชาติ

ทำให้หากเราสามารถเพิ่มระยะเวลาการขยับร่างกาย หรือเสริมการยืนทำงานเข้าไปจะช่วยให้เราสามารถให้เวลากับกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ได้พักผ่อน และนอกจากนี้การขยับร่างกาย หรือการยืนทำงาน สลับกับการนั่ง ช่วยเพิ่มชีวิตชีวา ระหว่างวัน เพิ่มความสดชื่อได้อย่างเป็นธรรมชาติอีกด้วย

 

ทดลองสัมผัสประสบการณ์อุปกรณ์จัดโต๊ะคอมที่ออกแบบตามหลัก Ergonomics 100%

ถึงตรงนี้ถ้าคุณต้องการสัมผัสประสบการณ์ใช้งานอุปกรณ์จัดโต๊ะคอมที่ออกแบบตามหลัก Erogonomics 100% พร้อมคุณภาพคับราคา สามารถเข้ามาทดลองในห้องทดลองสินค้าของ DreamDesk พร้อม แบบ Exclusive ส่วนตัวได้เลย

ผู้ที่สนใจทดลองประสบการณ์ Ergonomics 100% แบบส่วนตัว สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/dreamdesk.design

 

Credit: Xippar

Source: medium

กลับไปยังบล็อก